เคสโทรศัพท์มือถือชนิดที่สามารถใส่ของเหลว ทั้งแบบมีสีและไม่มีสี ผสมกลิตเตอร์ หรือกากเพชรวิววับ เป็นที่นิยมในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เห็นทีจะไม่ปลอดภัย 100% เมื่อมีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า เด็กหญิง 9 ขวบ เกิดเหตุของเหลวจากเคสโทรศัพท์มือถือรั่วไหล สัมผัสบนผิวหนังขณะนอนหลับทับเคส ตื่นเช้ามาพบรอยไหม้ และพุพอง
ที่่มา : www.sanook.com |
นอกจากนี้ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเตือนว่าหากผิวหนังสัมผัสของเหลวภายในเคสมือถือ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำเปล่ามากๆ เพื่อป้องกันผิวหนังพุพองจากสารเคมี
รองศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการทดสอบของเหลวในเคสมือถือ พบว่าเป็นสาร n-Decane หรือเรียกสั้นๆว่า "เด็คเคน (Decane)" ปกติเป็นสารชะล้างในโรงงานอุตสาหกรรมล้างไขมัน เช่น ล้างแผงวงจรอิเล็กโทรนิค เป็นตัวทำละลายในปิโตรเคมี และในห้องปฏิบัติการเคมี ดังนั้นเมื่อผิวหนังของคนเรามีไขมันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย จึงเห็นแผลเปื่อยๆ จากการปฏิกิริยากับสารเด็คเคนได้ แต่กว่าสารจะออกฤทธิ์กับผิวหนัง ต้องสัมผัสกับสารนั้นนานๆ อย่างน้อย 15 นาที ดังนั้นหากสัมผัสสารดังกล่าว ควรรีบล้างน้ำสะอาดนานๆ เพื่อกำจัดสารนั้นออกไปจากผิวหนังให้เร็วที่สุด
การวิเคราะห์ข่าว : เคสมือถือถือเป็นสิ่งใกล้ตัวของเรามาก แต่หารู้ไม่ว่า ไอ้น้ำใสๆภายในเคสนั้นคือสารเคมี ดังนั้นเราควรระมันระวังไม่แตะต้องสารหรืออะไรที่ไม่ร้จักว่ามามันทำมาจากอะไร ไม่รู้ที่มาของมัน เพราะมันอาจจะเป็นอันตรายต่อเาโดยไม่ตาดคิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น