หนุ่มนักกม.หัวเกษตร ปลูกผักหวานป่าแก้แล้ง-ไม่ใช่สารเคมี ลูกค้าแห่ซื้อจนไม่พอขาย#8

นายจตุพงษ์ ตาเปียง อายุ 33 ปี ปัจจุบันเป็นนิติกรอยู่เทศบาล ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา ได้อาศัยวันว่างร่วมกับครอบครัวพัฒนาพื้นสวนประมาณ 30 ไร่ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อยเป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่คุ้มค่าด้วยการปลูกผักหวานป่าปะปนไปกับสวนลำไยและพื้นที่เดิมที่เคยปลูกข้าวโพด ซึ่งเพาะปลูกมาได้ประมาณ 5 ปี สามารถเก็บยอดผักหวานป่าออกขายทุกๆ 3 วัน ให้ลูกค้าที่สำนักงานจนหมดทุกครั้ง นอกจากนี้ยังตอนกิ่งและนำเมล็ดผักหวานป่าที่ได้ออกขายสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดีด้วย
ที่มา : www.sanook.com
นายจตุพงษ์ กล่าวว่าตนสนใจด้านการเกษตรมาตั้งแต่เด็กเพราะพ่อแม่มีอาชีพทางการเกษตร ต่อมาเมื่อเรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและไปต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบการศึกษาแล้วออกไปทำงานแล้ว ก็ได้หันมาใช้เวลาว่างพัฒนาการเกษตรโดยเห็นว่าการปลูกพืชต่างๆ เช่น ยางพารา ข้าวโพด ลำไย ฯลฯ ก็มีราคาไม่แน่นอน ใช้น้ำและสารเคมีมาก หลายชนิดต้องแผ้วถางพื้นที่ทำให้หน้าดินและป่าไม้เสียหาย
ต่อมาได้มีโอกาสพบพ่อหน่อ แม่มอญ ชาว อ.ขุนตาล ที่อยู่ในชุมชนสันติอโศกก็ได้เรียนรู้การนำเมล็ดผักหวานป่ามาปลูก โดยปลูกปะปนไปกับพืชชนิดอื่นๆ โดยไม่ต้องหาพื้นที่ใหม่ด้วยการใช้เหล็กแหลมเล็กแทงลงไปในดินลึกประมาณ 1 ฟุต จากนั้นหยอดเมล็ดที่นำมาเพาะจนมีรากงอกแล้วลงไปหลุมละ 3-4 เม็ด จากนั้นก็ดูแลพืชชนิดอื่นๆ ไปพลางก่อนรอประมาณ 1.6 ปีต้นผักหวานก็จะเติบโตแล้วให้ยอดเป็นผลผลิตไปตลอด
“ซึ่งการดูแลรักษาน้อยมากเพราะเป็นพืชป่าที่แทบจะไม่ต้องให้น้ำ ปุ๋ย หรือไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ เพราะมีภูมิคุ้มกันแมลงหรือสัตว์อื่นๆ ในตัวเอง เมื่อปลูกเมล็ดไว้เฉยๆ ก็ขึ้นต้นเองและมีอายุหลายสิบปีโดยมีลำต้นใหญ่เหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป ผมจึงเห็นว่าคุ้มค่าและเหมาะกับทุกพื้นที่โดยเฉพาะที่สูงไมมีน้ำมาก กระนั้นเนื่องจากผักหวานป่าท้องถิ่นภาคเหนือมีใบยาวเรียวและใช้เวลาปลูกนาน จึงหันไปซื้อเมล็ดพันธุ์จาก จ.สระบุรี พบว่าใบใหญ่โตและใช้เวลาปลูกสั้นกว่า อายุแค่ 2 ปีก็สามารถตอนกิ่งขยายพันธุ์หรือขายได้ ที่สำคัญรสชาติอร่อยเหมือนเดิม”
การวิเคราะห์ข่าว : การทำการเกษตรนั้นจำเป็นต้องเลือก พืชพรรณที่เหมาะสมต่อสถานที่นั้นๆ การนำผักหวานมาปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพแห้งแล้งถือเป็นความติดที่ดีมากเนื่องจากผักหวนเป็นพืชทนแล้ง ซึ่งสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ได้ดี 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น