ที่มา :www.sanook.com |
ปลูกผักผลไม้ที ใช้สารเคมี 20 กว่าชนิด?
นอกจากจะเจอสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยมของคนไทยหลายชนิดแล้ว แต่ละชนิดยังไม่ได้พบสารเคมีแค่ตัวเดียวอีกด้วย เช่น ในผักคะน้า พบสารเคมีตกค้างมากถึง 12 ชนิด มังคุด พบสารตกค้างมากถึง 20 ชนิด หรือว่าจะเป็นส้มที่พบมากถึง 21 ชนิดเช่นกัน นั่นหมายความว่าเกษตรกรใช้สารเคมีมากถึง 21 ชนิดในการปลูกส้มนั่นเอง
ถูก-แพง ก็พบสารเคมีเหมือนกัน!
นอกจากนี้ รศ. ดร. สมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์ จากศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการวิจัยผัก และผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ราคาของผักไม่ได้การันตีว่าจะไม่พบสารเคมี หรือพบสารเคมีมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่อย่างใด จากการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ทั้งจากตลาดสด และในซุปเปอร์มาร์เก็ตขึ้นหาก ทั้งจากแหล่งผลิตที่เขียนข้างบรรจุภัณฑ์ชัดเจนว่า “ผักปลอดสารพิษ” “ผักอินทรีย์” สุดท้ายก็เจอสารเคมีเพียบ นั่นหมายความว่าเราจ่ายเงินมากกว่าหลายเท่า แต่ได้ผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากเท่าๆ กับผักผลไม้ในตลาดสด
เคล็ดลับการล้างผักผลไม้ เพื่อลดสารพิษ ยาฆ่าแมลง สารเคมีตกค้างต่างๆ
1. ล้างผักผลไม้ด้วยด่างทับทิม ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 20-30%2. ล้างด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชู ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 30-40%
3. ล้างด้วยน้ำผสมผงฟู หรือเบกกิ้งโซดา ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 30-40%
4. ล้างผักด้วยวิธีน้ำไหล โดยแยกใบผัก กลีบผักออกมา แช่ในน้ำ 10 นาที จากนั้นหยิบใบผักขึ้นมา เปิดก็อกให้น้ำไหลผ่านผักและผลไม้ทีละใบ ทีละก้าน ถูๆ ให้สะอาดราว 2 นาที วิธีนี้ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 60-70%
วิเคราะห์ข่าว : ในฐานะผู้บริโภคก็ควรจะดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ด้วยการใส่ใจล้างผัก และผลไม้อย่างถูกวิธี แต่ในทางกลับกัน การพบสารเคมีตกค้างในผัก และผลไม้เกินค่ามาตรฐานทั่วประเทศไทย ไม่เว้นจากแหล่งผลิตที่แปะป้ายไว้ว่าผักปลอดสารพิษ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรเข้ามาตรวจสอบ แก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้น ให้ถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น